อาณาจักรรัตนโกสินทร์

อาณาจักรรัตนโกสินทร์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
   ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจาก

     ฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325

     ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับพม่า เวียดนามและลาว ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม อังกฤษและฝรั่งเศส จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่รัฐชาติสมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ การเลิกทาส และการขยายการศึกษาแก่ชนชั้นกลางที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ในการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475

ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง พ.ศ. 2475 เท่านั้น

การปกครอง
    สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.1-ร.3 มีการจัดระเบียบการปกครองในราชธานี โดยมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่งและเสนาบดีจตุสดมภ์อีก 4 ตำแหน่ง เป็นผู้รับผิดชอบ

1.กรมมหาดไทย เรียกว่า สมุหนายก ดูแลรับผิดชอบราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

ในหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด

2.กรมกลาโหม เรียกว่า สมุหพระกลาโหม ดูแลรับผิดชอบราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน

ในหัวเมืองฝ่ายใต้

3.กรมเมือง(นครบาล) เจ้าพระยายมราช ดูแลรักษาความสงบและความเป็นระเบียบเรียบร้อย

ในราชธานีการปกครองภายในราชธานี

4.กรมวัง(ธรรมาธิกรณ์) มีเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ดูแลกิจการภายในพระราชวังและพระราชพิธีต่างๆ พิจารณาพิพากษาคดีความของราษฎร

5.กรมคลัง(โกษาธิบดี) มีเจ้าพระยาพระคลัง ดูแลเกียวกับเงินรายได้และรายจ่ายของแผ่นดิน ติดต่อค้าขาย ดูแลหัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก(กรมท่า)

6.กรมนา(เกษตรธิการ) มีพระยาพลเทพ ดูแลเสบียงอาหารขอแผ่นดิน เก็บภาษีค่านาจากราษฎร

(ภาษีหางข้าว)



การปกครองหัวเมือง
   หัวเมืองชั้นใน เป็นเมืองที่อยู่ใกล้ราชธานีและมีฐานะเป็นชั้นเมืองจัตวา

– เมืองพระประแดง นครเขื่อนขัณฑ์

– ผู้ปกครองเรียกว่า ผู้รั้ง
หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากราชธานี มีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท และชั้นตรี

– เมืองพิษณุโลก นครสวรรค์ นนทบุรี สาครบุรี จันทบุรี เพชรบุรี สงขลา
หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองของชนชาติต่างภาษา

– จำปาศักดิ์ ทะวาย มะริด หลวงพระบาง ไทรบุรี กลันตัน

– จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมายังราชธานีทุกๆ 3 ปีต่อครั้ง

การปกครองส่วนท้องที่

-หมู่บ้าน ผู้ปกครองดูแล คือ ผู้ใหญ่บ้าน
-ตำบล หมูบ้านหลายๆหมู่บ้านรวมเป็นตำบล ผู้ปกครองดูแลคือ กำนัน
-แขวง ตำบลหลายๆตำบลรวมเป็นแขวง ผู้ปกครองดูแลแขวงคือหมื่นแขวง



การปฏิรูปการเมืองการปกครองสมัยรัชการที่5

     ในสมัย ร.5 (พ.ศ.2411-2453) เป็นช่วงที่บ้านเมืองมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เพื่อให้ทันสมัยเท่ากับอารยประเทศ

1.การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา พ.ศ.2471

2.การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2435

3.การจัดตั้งรัฐมนตรีสภา พ.ศ.2437

การจัดตั้งสภาที่ปรึกษา

ประกอบด้วย 2 สภา

1.สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน(Council of State) ประกอบด้วยขุนนาง 12 คนทำหน้าที่เกี่ยวกับถวายความเห็น เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน

2.สภาที่ปรึกษาในพระองค์(Privy Council) ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางรวม 49 คน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ในเรื่องเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน (คล้ายกับองคมนตรีในปัจจุบัน)



การปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน

    การบริหาราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีจตุสดมภ์ที่ใช้กันมาตั้งอยุธยา ตั้งกระทรวงขึ้นมาแทน 12 กระทรวง โดยมีเสนาบดีเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

– ยกเลิกการแบ่งหัวเมืองส่วนภูมิภาคที่เป็นเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และชั้นจัตวาและยกเลิกฐานะเมืองประเทศราช

– จัดการปกครองแบบ มณฑลเทศาภิบาล ขึ้นแทน โดยรวมหัวเมืองต่างๆตั้งแต่3เมืองขึ้นไปเป็นมณฑล ขึ้นต่อกระทรวงมหาดไทย ผู้ปกครองมณฑลเรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาล หรือ สมุหเทศาภิบาล

– มณฑลเทศาภิบาล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

– การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

– จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ พ.ศ.2442

– จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม ตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาคร พ.ศ.2448

การจัดตั้งรัฐมนตรี
-ร.5โปรดตรากฎหมายจัดตั้ง รัฐมนตรีสภา ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2437 เพื่อให้เป็นสภาสำหรับประชุมปรึกษาเกี่ยวกับการตรากฎหมายข้อบังคับต่างๆ


การปรับปรุงการเมือง การปกครองสมัยรัชการที่7
-จัดตั้งสภาต่างๆ เพื่อช่วยบริหารราชการแผ่นดิน
อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
เสนาบดีสภา เป็นที่ประชุมของเสนาบดีประจำกระทรวง
องคมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาในข้อราชการที่ทรงขอความเห็น
-เตรียมจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล
เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครอง
มีการร่างกฎหมายและให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล
-จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การศึกษา
รัชกาลที่4

– ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ตำบลสำเหร่

– ปัจจุบันคือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตรียนวิทยาลัย

– โรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศไทย คือ โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง

– ปัจจุบันคือโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

รัชกาลที่5

– โรงเรียนทหารมหาดเล็ก

– โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

– โรงเรียนวัดมหรรณพาราม(โรงเรียนสำหรับราษฎรแห่งแรก)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม


Comments