แคว้นหริกุญชัย

แคว้นหริกุญชัย

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



        อาณาจักรหริภุญชัย หรือ หริภุญไชย เป็นอาณาจักรมอญ[1]ที่ตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน
       ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปีพ.ศ. 1310 แล้วทูลเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจากอาณาจักรละโว้ ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระภิกษุ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของสมเด็จพระราชินีนาถ” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ)

ชุมชนเมืองโบราณ
    -เวียงลี้ ตั้งอยู่บนเนินเขาในเขตตำบลลี้ อำเภอลี้ ตัวเวียงยังมีร่องรอยคูเมืองปรากฏอยู่ ส่วนแนวกำแพงเมืองเห็นไม่ชัดเจนนัก ตัวเวียงหันหน้าออกสู่ที่ราบทุ่งหลวงลี้ อันเป็นบริเวณที่ห้วยแม่แวน และห้วยแม่แต๊ะกับแม่น้ำลี้ไหลมาบรรจบกัน 

ตามตำนานพื้นเมืองที่เล่าต่อกันมาถึงการตั้งเมืองนี้ว่า มีพระนางจามรี นำผู้คนหนีภัยโรคระบาดจากเมืองหลวงพระบาง หรืออีกสำนวนหนึ่งว่า จากเมืองตอนเหนือของเมืองเชียงใหม่ เมื่อมาถึงเนินเขาลูกหนึ่ง เห็นว่าเป็นชัยภูมิดีจึงได้สร้างเวียงขึ้น และได้มีเจ้าเมืองปกครองต่อมาอีกสามองค์จนถึงสมัยเจ้านิ้วงามได้ถูกข้าศึกจากสุโขทัยมาตีเมืองได้ และกวาดต้อนผู้คนไปเมืองสุโขทัย

-เวียงหนองล่อง ตั้งอยู่ในเขตตำบลวังผาง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ตัวเวียงตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำลี้นัก ผังเวียงเป็นรูปสี่เหลี่ยม ยังปรากฏร่องรอยของคูเวียงและคันดินบางส่วน

จากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ได้กล่าวถึงพญาจ่าบ้าน เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่ได้ขับไล่อิทธิพลพม่าออกไปจากเชียงใหม่ จากการช่วยเหลือของพระเจ้ากรุงธนบุรี และพญากาวิละ ในปี พ.ศ.๒๓๑๗ ฝ่ายพม่าได้ยกกำลังมาตีเมืองเชียงใหม่คืน พญาจ่าบ้านจึงนำผู้คนมาตั้งมั่นที่เวียงหนองล่อง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐

-เวียงสะแกง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหนองล่อง กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่แม่น้ำลี้ไหลมาบรรจบแม่น้ำปิง เป็นสถานที่ตั้งมั่น เพื่อต่อสู้กับพม่าของพญาจ่าบ้าน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๒ ต่อมาพญากาวิละ ได้รวบรวมผู้คนเพื่อตีเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่า ได้รวบรวมผู้คนของพญาจ่าบ้านที่เวียงสะแกงได้ ๗๐๐ คน แล้วไปตั้งมั่นที่เวียงป่าซางต่อไป

-เวียงหวาย ตั้งอยู่ในเขตตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน อยู่ทางทิศตะวันตกของวัดพระเจ้าสะเลียมหวาน มีพระพุทธรูปพระเจ้าสะเลียมหวาน เป็นพระพุทธรูปไม้สะเดาหวาน(สะเลียมหวาน) ปางอุ้มบาตร สูง ๒.๔๐ เมตร ประดิษฐานอยู่

ตามตำนานพระเจ้าสะเลียมหวาน แสดงว่ามีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมา ยังปรากฏศาลเจ้าเมืองพญาจันทร์ตั้งอยู่
เวียงหวาย กลายเป็นเมืองร้างไปพร้อมกับอาณาจักรล้านนา

-เวียงป่าซาง ตั้งอยู่ในเขตตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง ในครั้งที่พระเจ้ากาวิละแห่งเมืองลำปางรวบรวมผู้คนเพื่อฟื่นฟูเมืองเชียงใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๕ เป็นต้นมา โดยนำกำลังพล ๓๐๐ คน จากเมืองลำปางมาสมทบกับกำลังของพญาจ่าบ้านที่เวียงสะแกง ได้มาตั้งมั่นอยู่ที่เวียงป่าซางเป็นฐานในการเข้าไปฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ใน ปี พ.ศ.๒๓๓๙

-เวียงป่าซาง ตั้งอยู่บนสองฝั่งของแม่น้ำทา ตัวเวียงยาวประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร มีป้อมปราการแข็งแรง มีร่องรอยของป้อมปราการที่เหลืออยู่สี่ป้อม ภายในเวียงมีวัดอยู่สองแห่ง

ผู้ปกครองนครลำพูน

๑. เจ้าคำฝั้น (พ.ศ.๒๓๔๘ - ๒๓๕๙) เป็นอนุชาของพระเจ้ากาวิละ บุตรลำดับที่ แปดของเจ้าชายแก้วแห่งเมืองลำปาง เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ในการขับไล่อิทธิพลพม่าออกไปจากล้านนาที่เมืองเชียงแสน 
๒. เจ้าบุญมา (พ.ศ.๒๓๕๙ - ๒๓๗๐) เป็นอนุชาพระเจ้ากาวิละ บุตรลำดับที่สิบของเจ้าชายแก้วแห่งเมืองลำปาง
๓. เจ้าน้อยอินทร (พ.ศ.๒๓๗๐ - ๒๓๘๑) เป็นบุตรเจ้าคำสม เจ้าเมืองลำปางองค์แรก และในปี พ.ศ.๒๓๘๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลำปาง
๔. เจ้าน้อยคำตัน (พ.ศ.๒๓๘๑ - ๒๓๘๔) เป็นบุตรเจ้าบุญมา เจ้าเมืองลำพูนองค์ที่สอง
๕. เจ้าน้อยธรรมลังกา (พ.ศ.๒๓๘๔ - ๒๓๘๖) เป็นบุตรเจ้าบุญมา น้องเจ้าน้อยคำตัน
๖. เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคุณหริภุญชัย - เจ้าหนานไชยลังกา (พ.ศ.๒๓๘๖ - ๒๔๑๔) เป็นบุตรคนที่สี่ของเจ้าคำฝั้น เจ้าเมืองลำพูนองค์ที่หนึ่ง
๗. เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ (พ.ศ.๒๔๑๔ - ๒๔๓๑) เป็นบุตรลำดับที่ หกของเจ้าไชยลังกา ฯ ในช่วงนี้ทางกรุงเทพ ฯ ไม่ได้แต่งตั้งเจ้าเมืองลำพูนเป็นเวลาสี่ปี (พ.ศ.๒๔๑๔ - ๒๔๑๘) ในครั้งสงครามเชียงตุง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๕ ได้เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพเมืองลำพูน
๘. เจ้าเหมพันธุ์ไพจิตร เจ้าคำหยาด(พ.ศ.๒๔๓๑ - ๒๔๓๘) เป็นบุตรเจ้าไชยลังกา ฯ
๙. เจ้าอินทยงยศ - เจ้าน้อยหมวก (พ.ศ.๒๔๓๘ - ๒๔๕๔) เป็นบุตรเจ้าดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล
๑๐. นายพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (พ.ศ.๒๔๕๔ - ๒๔๘๖) เป็นบุตรเจ้าอินทยงยศ ทางกรุงเทพ ฯ ให้มีการยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร ในฐานะหัวเมืองประเทศราช เป็นเจ้าผู้ครองลำพูนองค์สุดท้าย

Comments