แคว้นโยนกเชียงแสน


แคว้นโยนกเชียงแสน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แคว้นโยนกเชียงแสน



แคว้นโยนก (พ.ศ. 1835–2435) เป็นรัฐของชาวไทยวนที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง อันเป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำกก เป็นที่ตั้งของชุมชนที่มีมาช้านาน เช่น เมืองเงินยาง เมืองรอย และเมืองเชียงแสน แม้จะเป็นรัฐชายขอบที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาณาจักรขนาดใหญ่ ขอม พุกาม และยูนนาน แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะพัฒนาจนสถาปนาอาณาจักรล้านนาในกาลต่อมา

การเมือง

พญามังรายทรงส่งพระญาติวงศ์ของพระองค์ ไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น เมืองเขลางค์ (ลำปาง) เมืองเขมรัฐเชียงตุง (ในพม่า) และ เชียงรุ้ง (สิบสองปันนาในจีน) ทรงส่งพระราชโอรสไปปกครอง เมืองที่ใหญ่และสำคัญๆ ได้แก่ เมืองนาย (หัวเมืองไทใหญ่) และเชียงราย ซึ่งเคยเป็นเมืองราชธานีของล้านนา


รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985-2030) พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 ในราชวงศ์มังราย พระองค์ได้รับการยกย่องให้มีฐานะเป็น "ราชาธิราช" พระองค์ทรงแผ่ขยายขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรล้านนาให้ยิ่งใหญ่และกว้างขวางกว่าเดิม

ด้านทิศเหนือ เมืองเชียงรุ้ง เมืองยอง
ด้านทิศตะวันออก เมืองนันทบุรี (น่าน) แพร่ ทุ่งยั้ง (ส่วนหนึ่งของอุตรดิตถ์) จรดถึง หลวงพระบาง
ด้านทิศตะวันตก ขยายไปจนถึงรัฐฉาน (ตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า) เช่น เมืองไลคา เมืองยองห้วย เมืองสีซอ


ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนา ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นานถึง 25 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการในการแผ่อิทธิพลเข้าไปในสุโขทัยของทั้งสองอาณาจักร แต่ไม่มีฝ่ายไหนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองอาณาจักรจึงผูกสัมพันธไมตรีต่อกัน จนกระทั่งอาณาจักรล้านนาตกเป็นประเทศราชของพม่าในปี พ.ศ. 2101



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พญามังราย


ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้


ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่สาย รัฐฉาน (ประเทศพม่า) และแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว)

ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว) และอำเภอเชียงของ

ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเชียงของ อำเภอดอยหลวง และอำเภอแม่จัน

ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย







ประติมากรรม


เจดีย์ประธาน มีลักษณะเป็นเจดีย์ 5 ยอด สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1871 ในรัชกาลของพญาแสนภู ผังของส่วนล่างสี่เหลียมจัตุรัส ฐานล่างสุดมีลวดลายเรียบง่าย ผนังของฐานชั้นถัดขึ้นไปเจาะช่องผนังเป็นซุ้มจระนำ ด้านละ 3 ซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยและมีจระนำขนาดเล็กอีก 4 สลับไว้ประดิษฐานรูปเทวดายืน และชั้นฐานบัวลูกแก้วอกไก่รองรับเรือนธาตุ




ส่วนเรือนธาตุมีชั้นลดทำเสาอิงประดับมุม และซุ้มจระนำประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนกรอบซุ้มประดับแถวเพกา ปลายกรอบรูปหัวพญานาคหลายหัวที่มุมทั้ง 4 ของชั้นลดประดับด้วยเจดีย์ขนาดเล็กล้อมแท่น 8 เหลี่ยม ซึ่งรองรับบัวกลุ่มและทองระฆังส่วนปลายคือ ปล้อไฉน และปลี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประติมากรรมโยนกเชียงแสน





Comments